หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองเก่า ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูล
หน่วยงาน
ข้อมูล
หน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหาร
บุคคล
การบริหาร
บุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการ
ประชาชน
บริการ
ประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า
อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
 
 
ประวัติความเป็นมา
 
 
ประวัติเมืองพิจิตร
 
เมืองโบราณเมืองหนึ่ง ซึ่งสร้างก่อนกรุงสุโขทัย 199 ปี
เมืองมาตุภูมิของสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (หลวงสรศักดิ์) เมืองอันเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของมหาราชครู หรือโหราธิบดี และศรีปราชญ์ รัตนกวีแห่งราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เมืองแห่งพระเครื่องรางของขลัง และยังเป็นเมืองกำเนิดละครเรื่อง ไกรทอง เมืองนั้นคือ “เมืองพิจิตร”
 
  เมืองพิจิตรเก่า แต่ก่อนไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า มีการโยกย้ายมาแล้วหลายตั้ง จึงขอย้อนกลับไปเล่าถึงการขยายอำนาจของขอม ดังนี้ ในสมัยที่ขอมแผ่เดชานุภาพเข้าตีอาณาจักรทวาราวดีนั้น ได้ยกกองกำลังเข้าบุกเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมื่อประมาณพ.ศ. 1400 โดยมีพระยาแกรกผู้เข้มแข็งเป็นแม่ทัพบัญชาการรบ พระยาแกรกผู้นี้เป็นเสี้ยนหนามกับพระยาโคตรตะบองเทวราช ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองละโว้ พระยาแกรกจึงยกทัพบุกเมืองตั้งใจจะขยี้เมืองละโว้ให้แหลกลาญจะได้จับพระยาโคตรตะบองเทวราชมาสำเร็จโทษเสีย ทหารทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันอย่างดุเดือด และในที่สุดพระยาโคตรตะบองเทวราชก็ได้เสียเมืองให้กับพระยาแกรกไป พระยาโคตรตะบองเทวราชได้หนีฝ่าวงล้อมการต่อสู้ออกมาได้ โดยพาอัครมเหสี ราชโอรส ราชธิดา และอำมาตย์ญาติวงศา เดินทางขึ้นไปทางเหนือ บรรดาทหารทั้งพลช้างและม้า พยายามต่อสู้ไปด้วยและถอยทัพหนีไปด้วย จนพ้นการติดตามของพระยาแกรกไปได้ การพ่ายแพ้ในครั้งนี้พระยาโคตรตะบองเทวราช ทรงเสียพระทัยอย่างสุดซึ่งประกอบกับทรงทราบกิติศัพท์มาว่า ขอมมีแสนยานุภาพเข้มแข็งอย่างมาก ทำการรบชนะมาหลายแห่ง จึงทรงท้อพระทัยและหวาดหวั่น คงไม่มีทางที่จะกลับไปแก้มือ จึงตัดสินใจยอมสละบ้านเมืองให้พระยาแกรกไป และทรงเสด็จเดินทางต่อไปโดยไม่มีจุดหมาย เป็นเวลาหลายสิบวัน จนมาถึงหมู่บ้านโกณฑัญญคาม คือพื้นที่ตำบลบางคลาน กับตำบลบ้านน้อย ในเขตอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จึงสั่งให้หยุดการเดินทัพบริเวณนี้
  ฝ่ายหัวหน้าบ้านโกณฑัญญคาม ซึ่งเป็นตระกูลพราหมณ์มาจากเมืองละโว้ พอทราบว่าพระยาโคตรตะบองเทวราชเสด็จมาตั้งค่ายพักพลอยู่ในละแวกบ้านของตน จึงออกมาเยี่ยมและคำความเคารพ แล้วแนะนำให้พระองค์ทราบว่าตนเป็นชาวละว้าเหมือนกัน เดิมมีพื้นเพมาจากเมืองละโว้ ได้มาเป็นหัวหน้าพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนี้ พระยาโคตรตะบองเทวราชก็ดีพระทัย จึงตรัสถามความทุกข์สุข แล้วทรงเล่าเหตุการณ์ที่ต้องระหกระเหินมาให้พราหมณ์ฟัง พราหมณ์หัวหน้าบ้านทราบถึงความจริงก็น้อยใจและแค้นเคืองขอมมาก จึงอัญเชิญราชา พร้อมภรรยาและบุตร ให้ไปประทับ ณ บ้านตน ถวายการต้อนรับเป็นอย่างดี หลายวันต่อมา พราหมณ์ก็ถวายหมู่บ้านของตนให้พระยาโคตรตะบองเทวราชสร้างเมือง >>อ่านต่อ>>
 
ประวัติตำบล
 
ตำบลเมืองเก่า เดิมคือที่ตั้งเมืองพิจิตรเก่า ตำบลเมืองเก่าเดิม เป็นเมืองลูกหลวง สมัยสุโขทัยจังหวัดพิจิตรมีชื่อเรียกว่า เมืองโอฆะบุรี ซึ่งแปลว่าเมืองใต้ท้องน้ำ และมีชื่อเรียกต่างไปตาม ยุคสมัย เช่น เมืองสระหลวง เมืองชัยบวร และเมืองปากยม เมืองพิจิตรเป็นที่ประสูติ ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ และเป็น
  ถิ่นกำเนิดของนิทาน เรื่องไกรทองอันลือลั่น ตามตำนาน จังหวัดพิจิตร พิจิตร แปลว่า เมืองงาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1601 โดยเจ้ากาญจนกุมารราชบุตรพระยาโคตรบอง สมัยสุโขทัย บนริมฝั่งแม่น้ำน่านก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ ด้านเหนือยาว 10 เส้นด้านใต้ยาว 10 เส้น ด้านตะวันออกยาว 35 เส้นด้านตะวันตก เป็นหน้าเมืองหันหน้าไปทางแม่น้ำเป็นกำแพง 2 ชั้น ห่างกัน 15 วา มีป้อมประตู หอรบ ขณะนี้ยังมีปรากฏซากเมืองเป็นร่องรอยอยู่ ครั้นกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเดิน ประชาชนพากันอพยพจากลำน้ำเดิมคือลำน้ำพิจิตรเก่า ไปอยู่ลำน้ำใหม่คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน และได้ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหลวง หรือตำบลในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรในปัจจุบัน . ดังนั้น จึงได้ตั้งชื่อ เป็น ตำบลเมืองเก่าตำบลเมืองเก่า เดิมคือที่ตั้งเมืองพิจิตรเก่า ตำบลเมืองเก่าเดิม เป็นเมืองลูกหลวง สมัยสุโขทัยจังหวัดพิจิตรมีชื่อเรียกว่า เมืองโอฆะบุรี ซึ่งแปลว่าเมืองใต้ท้องน้ำ และมีชื่อเรียกต่างไปตาม ยุคสมัย เช่น เมืองสระหลวง เมืองชัยบวร และเมืองปากยม เมืองพิจิตรเป็นที่ประสูติ ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ และเป็นถิ่นกำเนิดของนิทาน เรื่องไกรทองอันลือลั่น ตามตำนาน จังหวัดพิจิตร พิจิตร แปลว่า เมืองงาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1601 โดยเจ้ากาญจนกุมารราชบุตรพระยาโคตรบอง สมัยสุโขทัย บนริมฝั่งแม่น้ำน่านก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยอิฐ ด้านเหนือยาว 10 เส้นด้านใต้ยาว 10 เส้น ด้านตะวันออกยาว 35 เส้นด้านตะวันตก เป็นหน้าเมืองหันหน้าไปทางแม่น้ำเป็นกำแพง 2 ชั้น ห่างกัน 15 วา มีป้อมประตู หอรบ ขณะนี้ยังมีปรากฏซากเมืองเป็นร่องรอยอยู่ ครั้นกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเดิน ประชาชนพากันอพยพจากลำน้ำเดิมคือลำน้ำพิจิตรเก่า ไปอยู่ลำน้ำใหม่คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน และได้ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหลวง หรือตำบลในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรในปัจจุบัน ดังนั้น จึงได้ตั้งชื่อ เป็น ตำบลเมืองเก่า
 
ประวัติหน่วยงาน
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 โดยยกฐานะจากสภาตำบลเมืองเก่า ในปี 2539
 
ที่ตั้ง
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ตั้งอยู่ที่ 125 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีระยะห่างจากอำเภอเมืองพิจิตร ประมาณ 7 กิโลเมตร มีเนื้อที่โดยประมาณ 33,125 ไร่ หรือประมาณ 53 ตารางกิโลเมตร
 
 
อาณาเขตติดต่อ
 
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.โรงช้าง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.วังจิก และ ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บึงสีไฟ ต.ท่าหลวง และ ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร
 
ต.โรงช้าง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร
ต.รังนก
อ.สามง่าม จ.พิจิตร
ตำบลเมืองเก่า
บึงสีไฟ ต.ท่าหลวง และ
ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร
จ.พิจิตร
ต.วังจิก และ ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
 
จำนวนประชากร
     
จำนวนประชากรทั้งหมด 5,824 คน แยกเป็น
  ชาย จำนวน 2,837 คน คิดเป็นร้อยละ 48.71
  หญิง จำนวน 2,987 คน คิดเป็นร้อยละ 51.29
ความหนาแน่นเฉลี่ย 109.89 คน/ตารางกิโลเมตร
 
 
เขตการปกครอง
 
 
หมู่บ้านหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 9 หมู่บ้าน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
1 บ้านเมืองเก่า 433 505 938
2 บ้านท่าข่อย 545 529 1,074
3 บ้านเมืองเก่า 237 258 495
4 บ้านวัดขนุน 235 242 477
5 บ้านท่าโพธิ์ 392 420 812
6 บ้านวังจันทร์ 222 203 425
7 บ้านไร่ 221 239 460
8 บ้านเมืองเก่า 341 358 699
9 บ้านท่าโพธิ์ 211 233 444
รวม 2,837 2,987 5,824
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร. 081-972-4644
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000 โทรศัพท์ : 056-030-389 โทรสาร : 056-844-540
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า
จำนวนผู้เข้าชม 1,002,308 เริ่มนับ 16 ธ.ค. 2563 จัดทำโดย : NAXsolution.com
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10